วันพุธ, พฤษภาคม 20, 2552

ย่านางแดง กับนกกินปลีอกเหลือง


“ย่านางแดง” เป็นไม้เถาชนิดหนึ่ง คล้ายเถากระไดลิงแต่เถาไม่คดและแบนเท่าเถากระไดลิง เหตุที่เขียนถึงย่านางแดง เพราะเข้าใจไขว้เขวว่าย่านางแดงเป็นเถากระไดลิงจากข้อมูลที่ได้รับมาคลาดเคลื่อนนั่นเอง
ย่านางแดงมีชื่อเรียกอื่นว่า เถาขยัน ขยาน(อ้างอิงจาก http://plantlovers.multiply.com/)
ก็เรียกกัน ยอดอ่อนของย่านางแดงกินเป็นผักสดได้ คนภาคเหนือนำมากินแกล้มลาบซึ่งเป็นกับข้าวหลักที่นิยม ดอกของย่านางแดงออกเป็นช่อบานช่อยาวถึง 100 เซนติเมตร บานจากโคนไปสู่ปลายช่อ แต่ละดอกที่ทยอยบานมีน้ำหวานอยู่ภายในทำให้นกชนิดที่ชอบกินน้ำหวานขนาดเล็ก ๆ ในตระกูลนกกินปลี มาเฝ้าอยู่บริเวณต้นไม้ที่มีย่านางแดงเกาะพันและบานดอก เหตุเพราะย่านางแดงบานดอกนานอาจถึง 2-3 เดือนทำให้นกกินปลีสามารถทำรังและเลี้ยงลูกในบริเวณนั้นได้เลย
จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะพบ นกกินปลีอกเหลือง นกกินปลีดำม่วง นกกินปลีคอสีม่วง บริเวณต้นไม้ที่มีเถาย่านางแดงอยู่