วันพุธ, พฤศจิกายน 28, 2550

สันติสุขบนโลกของเรา

โลกของเรามีเพียงหนึ่งเดียว ยังไม่มีการค้นพบใด ๆว่ามีดวงดาวที่เหมือนโลกของเราปรากฎอยู่ในจักรวาลนี้ โลกเป็นสมบัติสำหรับทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ โลกไม่ได้แบ่งแยกไว้ให้ชีวิตใดชีวิตหนึ่งโดยเฉพาะ โลกจึงเป็นสมบัติกลาง มนุษย์เราต่างหากที่คิดว่าโลกนี้เป็นของตนจึงขีดแบ่งพื้นที่โลก แบ่งทรัพยากร แบ่งอากาศท้องฟ้า แบ่งน้ำแบ่งท้องทะเลว่าเป็นของตน รุกรานแย่งชิงรบฆ่าซึ่งกันและกัน แท้ที่จริงแล้วสุดท้ายโลกยังเป็นของทุกชีวิต โลกไม่เคยแบ่งแยก........ไม่เชื่อให้มนุษย์ฆ่าฟันกันให้หมดโลก...ดูซิว่าโลกยังเป็นของตนจริงหรือไม่

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 15, 2550

กศน.ควรหรือต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

วันนี้มีน้องจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก ระยองโทรศัพท์สัมภาษณ์ กรณีตัวชี้วัดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กศน.ว่าควรเป็นอย่างไรบ้าง ได้ให้ความเห็นองค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้ ๓ องค์ประกอบคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารและทีม การคิดเชิงระบบแบบองค์รวม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม โดยมีกัลยาณมิตรเป็นเครื่องร้อยเรียงเชื่อมโยงเมื่อมีอุปสรรคของการพัฒนา และเสนอแนะไปว่าเพื่อการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ต้องเตรียมบุคลากรและองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะมาเร็ววันนี้

การศึกษาการเรียนรู้ธรรมาภิบาลของบุคลากรการศึกษานอกโรงเรียนโดยการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บทคัดย่อ
การศีกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลการเรียนรู้หลักธรรมาภิบาล โดยการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครนายก เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากร รวมจำนวน 54 คน ด้วยวิธีการสังเกตการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์กระบวนการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลจากการศึกษาพบว่า 1. ผลการเรียนรู้ธรรมาภิบาลในภาพรวมพบว่า ทั้ง 6 หลักการ มีการเรียนรู้หลักการซึ่งประกอบกด้วย 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3)หลักความโปร่งใส 4)หลักสำนึกรับผิดชอบ 5)หลักการมีส่วนร่วม 6)หลักความคุ้มค่า ตามลำดับ
2. กระบวนการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Dialogue) จากผลการนำกระบวนการนี้มาใช้ พบว่า 1) ด้านผู้จัดการกระบวนการเรียนรู้หรือผู้อำนวยความสะดวกบุคลากรผ่านการพัฒนาฝึกอบรมและมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวมาดี 2) ด้านสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในกลุ่มค่อนข้างดี ไม่เป็นทางการเกินไป และการดำเนินการครั้งนี้มีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมค่อนข้างดี ทำให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความราบรื่น 3) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า ผู้อำนวยความสะดวกได้ดำเนินการจัดกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน ถูกต้องตามหลักการของการจัดเสวนา โดยไม่เป็นผู้ชี้นำความคิด การกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มแสดงความคิดเห็นอย่างมีอิสระโดยความเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน แลการสร้างบรรยากาศการพูดคุยอย่างสนุกสนานเป็นกันเองทำให้บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุขสมาชิกกลุ่มได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ และ 4)ด้านความต่อเนื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า การเรียนรู้หลักธรรมาภิบาลสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะในมติที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ในการปฏิบัติงานโดยตรงของบุคลากรในแต่ละระดับ

วันจันทร์, สิงหาคม 20, 2550

ไทยพวนอำเภอปากพลี พ.ศ.๒๕๕๐

บันทึกวิถีวัฒนธรรมและการดำรงอยู่ของไทยพวนอำเภอปากพลี พ.ศ.2550
จังหวัดนครนายก
ปัญญา วารปรีดีและคณะ (2550)
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีวัฒนธรรมและการดำรงอยู่ของไทยพวนอำเภอปากพลี โดยศึกษาจากการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์และศึกษาข้อมูลจากเอกสาร
ผลการศึกษาพบว่า คนไทยพวนที่อำเภอปากพลีเดินทางมาด้วยเส้นทางอันยาวไกล จากดินแดนที่สูง จากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1200 เมตร คือ เมืองพวนในแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางมาพร้อมเด็ก ผู้หญิง คนแก่ชรา ชายฉกรรจ์ พระ เณร พระพุทธรูปพร้อมพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมสู่ถิ่นที่อยู่ใหม่คืออำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ในความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 180 เมตร เดินทางด้วยผลแห่งสงคราม หลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่าเดินทางมาเมื่อใดไม่ปรากฏ ที่ปรากฏคือมีหลักฐานชี้ชัดว่าอยู่มานานไม่น้อยกว่า 180 ปี ปัจจุบันมีคนไทยพวนที่อาศัยในอำเภอปากพลี 8189 คน โดยตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ตลอดสองฝั่งคลองท่าแดง กระจายอยู่ใน 6 ตำบล ตำบลเกาะหวายและตำบลหนองแสงมีประชากรไทยพวนหนาแน่นที่สุด ส่วนตำบลท่าเรือและตำบลเกาะโพธิ์ มีความหนาแน่นรองลงมา และมีไทยพวนไปอาศัยอยู่บางหมู่บ้านที่ตำบลโคกกรวดและตำบลนาหินลาด คนไทยพวนใช้ภาษาพวนพูดสื่อสารระหว่างกลุ่มของตน และมีการก่อตั้งชมรมไทยพวน มีสภาวัฒนธรรมอำเภอปากพลี เป็นรูปแบบในการทำงานอย่างเป็นทางการ คนไทยพวนอำเภอปากพลีมีวิถีวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาในสิบสองเดือนและการปฏิบัติตนอยู่ในทำนองคลองธรรมสิบสี่ประการ ทำให้คนไทยพวนมีความผูกพันกับวัด กับพระพุทธศาสนาและมีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งเห็นได้จากการมี “ศาลปู่ตา” อยู่ในหมู่บ้านทุกหมู่บ้านที่มีไทยพวนอยู่ ส่วนวิถีชีวิตและการดำรงอยู่นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามการเป็นไปของชุมชนและสังคม ปรากฏภาพจิตรกรรมปูนปั้นนูนสูงคือภาพปริศนาธรรมที่ฐานอุโบสถวัดคลองคล้ามีจำนวนทั้งสิ้น 16 ภาพ มี 4 ภาพ ที่มีคำบรรยายประกอบ อีก 12 ภาพไม่มีคำบรรยาย มีจารึกชื่อผู้ปั้นคือ นายผาลี เนื่องจากอวน ปั้นเมื่อปี พ.ศ. 2471 ด้วยความศรัทธาที่จะให้ภาพปริศนาธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมทาน เมื่อมีผู้มาพบอ่านก็ให้ประสพความสุขไปตลอดชาติและภาพปริศนาธรรมเหล่านี้ได้สื่อถึงนิสัยของคนไทยพวนที่มุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม นอกจากภาพปริศนาธรรมแล้วพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลองซึ่งเกิดจากความศรัทธา ความตั้งใจของพระครูวิริยานุโยค (สมบัติ บุญประเสริฐ) ที่มองเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของไทยพวน อันได้แก่ จารีตประเพณี วิถีวัฒนธรรมและการดำรงชีวิต จึงได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนขึ้น โดยยึดหลักกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พระครูวิริยานุโยคใช้แนวทางที่เรียกว่า “บวร” ซึ่งหมายถึง บ้าน วัด โรงเรียน บ้านทำหน้าที่ติดต่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของเครื่องใช้ของไทยพวน วัดคอยรวบรวมสิ่งของจัดเป็นหมวดหมู่ โรงเรียนมายถึงศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปากพลีและโรงเรียนต่าง ๆ ช่วยจัดทำพิพิธภัณฑ์ การให้บริการพิพิธภัณฑ์ทำต่อเนื่องมานานถึง 9 ปี โดยมีคณะดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม มีการพัฒนาปรับปรุงไปแล้ว 3 ครั้ง หลักการพัฒนาปรับปรุง พระครูวิริยานุโยคได้นำคำติชมในสมุดเยี่ยมพิพิธัณฑ์และข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยมาเป็นข้อปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลองมาโดยตลอด

วันจันทร์, มีนาคม 05, 2550

สัมพันธภาพระหว่างนกเอี้ยงกับควาย

เด็กๆในชนบทชอบร้องเพลงล้อเลียนเรื่องราวความเป็นไปรอบ ๆ ตัวกรณีเช่นเพลง...”.นกเอี้ยงมาเลี้ยงควายเฒ่าควายกินข้าวนกเอี้ยงหัวโต.”..........ร้อง....เล่นกันสนุกสนาน รู้แต่เพียงว่านกเอี้ยงชอบเกาะบนหลังควายเดินไปเดินมาโดยที่ควายไม่รำคาญเลย ลึกลงไปกว่านั้นคืออะไร.....หากสังเกตอย่างละเอียดจะพบว่านกเอี้ยงและควายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน.....นกเอี้ยงคอยจับแมลงเช่น เหลือบ เห็บ ริ้น ที่มาดูดเลือดควายกินเป็นอาหาร...ควายก็มีความสุขที่ไม่ต้องถูกแมลงรบกวน.......สรุปว่าต่างก็ได้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย...ภาษาต่างชาติเขาเรียก win win เรื่องอะไรก็ตามหากทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จะจบด้วยความสุข..ดังตัวอย่างนกเอี้ยงกับควาย คู่นี้ก็น่ารักไปอีกแบบหนึ่ง

กะเต็นปักหลักกับนักตกปลา

“อาชัย”...เป็นน้องชายคนสุดท้องอาศัยอยู่จังหวัดสระแก้ว งานอดิเรกที่ชอบมากคือ..ดูนกและตกปลา.......อาทิตย์ก่อนอาชัยมาพักอยู่บ้านในสวนประดู่ป่าแคมป์....ก่อนกลับอาชัยบอกว่า....พี่มีนกกะเต็นปักหลักตัวหนึ่งบินมาที่สระต้นหว้าในสวนทุกวันประมาณ เก้าถึงสิบโมง ตัวลาย ขาวสลับดำ สวยมากจำนวนกะเต็นปักหลักเหลือน้อยจริงๆ....ชัยไปตกปลาที่คลองพระสะทึงที่สระแก้วพบกะเต็นปักหลักทุกครั้ง มีด้วยกัน 4 ตัว บินผ่านมาตอนเช้าประมาณ สิบโมงและบินกลับตอนบ่ายประมาณบ่ายสองโมง........เขาบินผ่านมาจะร้องทัก....สองครั้งเสมอ....ชัยทักเขาว่า...หากินสะดวกไหม.....มิตรภาพระหว่างคนกับนกที่มีเป้าหมายเดียวกันเป็นไปด้วยความราบรื่น......โลกที่สรรพสิ่งล้วนเข้าใจซึ่งกันและกันดูมีความสุขดีนะ

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 07, 2550

กล้องส่องวิสัยทัศน์

นักดูนกทุกคนจะมีอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ยอมให้ห่างกายคือ กล้องส่องทางไกล(binoculars).....ทำไหมหรือ..เพราะคุณสมบัติของกล้องส่องทางไกลทำให้นักดูนกเห็นลายละเอียดในสิ่งที่ตาปกติไม่สามารถมองเห็นได้..........เช่น ขอบดวงตา ปลายปาก เล็บเท้าหรือลายละเอียดอื่นๆของนก การเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ปกติไม่สามารถเห็นได้...ทำให้เกิดความคิดและมุมมองที่ต่างออกไป.....ปรากฏการณ์ของการใช้กล้องส่องทางไกล.....เปรียบเสมือนบุคคลที่มีมุมมอง...มองอย่างมีจินตนาการ....มองไปในอนาคต...สร้างภาพในมโนทัศน์ให้เกิดก่อนเกิดจริง........บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เราเรียกว่า บุคคลผู้มีวิสัยทัศน์(vision)เป็นบุคคลที่มีแนวโน้มทำอะไรๆสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 05, 2550

โลกไร้พรมแดน

คนไทยสมัยก่อนจะคุ้นกับเพลงกล่อมลูก. “...เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนค่ำแล้วจะนอนไหนเอย....เอ้ย”..เพราะร้องกันมาช้านานคนไทยรู้ว่านกขมิ้นไม่ทำรัง......มาเดียวนี้เรารู้ว่านกขมิ้นเป็นนกอพยพ เขามีถิ่นเกิดในเขตหนาวแถบไซบีเรีย......ถึงฤดูหนาวจะอพยพลงมาทางใต้....พอหายหนาวก็จะกลับคืนถิ่น...เหตุนี้แหละที่นกขมิ้นไม่ทำรังในประเทศไทย.......ประเทศของนกขมิ้นหมายถึงโลก...โลกทั้งใบ...โลกที่ไร้พรมแดน.....เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมักจะเป็นแบบอย่างให้มนุษย์ทำตามเสมอๆ.......ปัจจุบันมนุษย์ในเขตหนาวเช่น ยุโรป อเมริกา รัสเซียเมื่อถึงฤดูหนาว......เขาเหล่านั้นประหยัดพลังงานประหยัดเงินปิดบ้านหนีหนาวมาอยู่เมืองไทยดีกว่า..............โลกเราไร้พรมแดนสำหรับนกขมิ้นท้ายทอยดำมาช้านานแล้ว...ในอนาคตโลกจะไร้พรมแดนสำหรับมนุษย์ที่รักสันติสุขทุกคน....

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 01, 2550

วังผักหนอง

วังผักหนอง......เป็นคุ้งน้ำหนึ่งของแม่น้ำงาวเมื่อ พ.ศ.2504 แม้เป็นฤดูแล้งเดือนเมษาน้ำบริเวณวังผักหนองยังท่วมหลังช้าง.....ภาพแห่งความทรงจำที่เรามีต่อสายน้ำแห่งนี้เป็นภาพที่อยากบอกเล่าต่อผู้คน.....ในฤดูน้ำหลากมีต้นไม้ที่ถูกตัดที่เรียกว่า”ซุง”อยู่เต็มแม่น้ำไปหมดเราสามารถข้ามแม่น้ำโดยกระโดดไปบนซุงต้นโน้นต้นนี้แล้วข้ามไปฝั่งตรงข้ามได้ ในแม่น้ำอุดมสมบูรณ์หัวซุงทุกต้นจะมีรอยแตกเราเอาเบ็ดเกาะเหยื่อไปเสียบไว้ ปลากดตัวโตๆเป็นอาหารได้สำหรับทุกคน......ฤดูน้ำหลากผ่านไปภาพประทับใจในเดือนเมษา..จะเห็นควานช้างนำช้างมาอาบน้ำที่วังผักหนองมาครั้งละ5-6 เชือก ควานจะขัดถูทำความสะอาดผิวหนังช้าง ช้างดำน้ำโผล่แต่งวงขึ้นมาบนผิวน้ำ...เราและเพื่อนได้อาศัยวังผักหนองเป็นที่เรียนรู้ความเป็นลูกผู้ชายที่สามารถว่ายน้ำเป็น..ว่ายอย่างสนุกสนานไม่เคยเบื่อ......เป็นภาพวิถีชีวิตที่ไม่มีวันหวลกลับ.....ปีนี้ 2549 เรากลับไปที่วังผักหนองแม่น้ำงาวไหลเอื่อยๆเหมือนจะบอกลา แม่น้ำทั้งสายมีความกว้างไม่ถึง 2 เมตร วังผักหนองเต็มไปด้วยตระกอนดินไม่มี ลักษณะของวังน้ำที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีต้นผักหนอง(กระถิน)ที่ช้างเคยดึงกินอยู่เลย..........45 ปีของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างมากมาย..ต้นไม้หายไป.....น้ำก็หายไปด้วย........รอซักประเดี๋ยว....มนุษย์ก็จะตามไป

บ้านบนซุง

ภาพแห่งความทรงจำระหว่าง เรา-พ่อ-บ้านบนต้นซุง เป็นภาพที่เด่นชัด…..เคยถามแม่ว่าเหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้เกิดขึ้นเมื่อเราอายุเท่าไร....แม่บอกประมาณ 2 ขวบ......เสียงรถแทรกเตอร์ดังสนั่นค่อยๆเคลื่อนตัวเพื่อดึงโซ่ที่ร้อยจมูกซุง2 ต้น บนซุงทั้งสองต้นนั้นมีกระท่อมที่แสนสุขของครอบครัวเราอยู่....พ่อขับรถแทรกเตอร์พาบ้านเราเคลื่อนไปบนถนนที่พ่อเพิ่งตัดได้ประมาณ2-3 กิโลเมตร ในความทรงจำเรากับแม่เดินตามไป...เห็นรอยซุงที่ลากไปบนถนนเหมือนรางรถไฟคู่หนึ่ง.......มาบัดนี้พ่อลากรอยซุงสู่สรวงสวรรค์แล้ว

ดอกไผ่กับนกกระติ๊ดเขียว

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่…...ห่างจากกรุงเทพมหานคร 100 กว่ากิโลเมตร ความร่มรื่นของแมกไม้ อากาศสดชื่นเต็มไปด้วยโอโซน......ทุกครั้งที่ขึ้นไปร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข...ทำให้มีพลังในการต่อสู้กับการดำเนินชีวิต..วันนี้เราขึ้นเขาใหญ่แต่เช้าเพื่อประสานการเข้าค่าย”สิทธิมนุษยชนกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติในชุมชน”ซึ่ง คุณหญิงอัมพร มีศุข คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ท่านเห็นความสำคัญและเชื่อว่าทีมของเราน่าจะสร้างต้นแบบกิจกรรมได้.........เมื่อถึงที่ทำการเขาใหญ่อากาศหนาวเย็น นายอึ่ง น้องที่เป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเดินมาหา บอกเราว่า........อาจารย์ครับด้านหน้าที่ทำการมีไผ่ออกดอกเต็มกอ...นกลงมากินดอกไผ่เต็มต้น เราหยิบกล้องส่องทางไกลในรถ เดินไปใกล้กอไผ่......มีฝรั่งและคนไทย 3-4 คนเฝ้าดูอยู่...นกหก 4 ตัวห้อยหัวกินดอกไผ่ใกล้ๆกันมีนกอีกชนิดซึ่งไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อนในบริเวณนี้คือ.....นกไผ่หรือนกกระติ๊ดเขียวตัวเล็กสีสรรสวยงามมากกินดอกไผ่อย่างเพลิดเพลิน.........เหตุการณ์หนึ่งปรากฏทำให้มีโอกาสดีๆบางครั้งแฝงความสูญเสียอยู่ในเหตุการณ์นั้น.......ดังเช่นวันนี้....เมื่อไผ่ออกดอกหมายถึงไผ่กอนั้นกำลังจะจากโลกนี้ไป....ไผ่ออกดอกจึงทำให้เรามีโอกาสพบนกไผ่.......โอกาสกับอุปสรรคมักจะมาคู่กันเสมอๆ