วันพุธ, กุมภาพันธ์ 29, 2555

ทำไมเรียกว่า “ดินสอพอง”






เมื่อพูดถึง “ดินมาร์ล” เกษตรกรชาวนาทุกคนรู้จักดีที่สุด  รู้ว่า ดินมาร์ลแก้ความเป็นกรดของที่ดินในนาข้าวได้  ดินมาร์ล หรือ ดินสอพอง เกิดจากการผุพังของมาร์ลสโตน ซึ่งมีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตเหมือนหินปูนทั้งหลาย  มาร์ลสโตนมักเกิดในบริเวณทะเลสาบน้ำจืด  สำหรับประเทศไทยแล้วบริเวณที่พบและมีการนำมาใช้มากคือพื้นที่ ตำบลทะเลชุบศร  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี
          คนไทยนำดินสอพองมาใช้ประโยชน์ คือ ใช้ทำเครื่องสำอาง  แป้ง  ทำธูป  นำมาพอกทำไข่เค็ม  หรือใช้ทำปูนซีเมนต์และใช้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวได้  ทำไมเรียก ดินมาร์ล  มาร์ลสโตนว่า “ดินสอพอง”ละ ผู้เขียนอนุมานเอาว่า คนไทยเคยใช้มาร์ลสโตนก้อนขาวๆ นี้เขียนตัวอักษรบนกระดานชนวนซึ่งเป็นแผ่นสีดำ  จึงเรียกมาร์ลสโตน ว่า “ดินสอ” และคนไทยก็เคยใช้น้ำมะนาวหยดลงบนมาร์ลสโตนในการทำเครื่องสำอาง  ผลปรากฏมาร์ลสโตนเกิดฟองและขยายตัวพองออกเพราะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดกับแคลเซียมคาร์บอเนต)  จึงเรียกว่า “ดินสอพอง” ไงละ  สนุกๆ ผิดก็ไม่เป็นไรนะ

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 21, 2555

งูเขียวปากจิ้งจกสีทอง




งูเขียวปากจิ้งจก จัดเป็นงูพิษอ่อน  ซึ่งพิษของมันอาจไม่แสดงผลกับคนเลย  จนทำให้เราเชื่อว่างูเขียวปากจิ้งจกเป็นงูไม่มีพิษ  งูเขียวปากจิ้งจกมีการพัฒนาสีผิวเป็น 3 กลุ่มใหญ่  สีกลุ่มแรกแน่นอนว่าเป็นสีเขียวอ่อนสดใส  และเป็นที่มาของชื่อ “งูเขียวหัวจิ้งจก หรือ งูเขียวปากจิ้งจก”  สีกลุ่มที่สองเป็นสีเทาออกขาว จึงมีชื่อเรียกต่างไปบ้าง คือ งูเขียวปากจิ้งจกสีเทา  ชาวบ้านป่าเรียกว่า “ง่วงกลางดง” และเชื่อผิดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง  สีกลุ่มที่สาม เป็นสีเหลืองทองจึงมีชื่อเรียกว่า งูเขียวปากจิ้งจกสีทอง ชาวบ้านป่ามักเรียก “กล่อมนางนอน” และเชื่อผิดว่าเป็นงูมีพิษร้ายแรง
            สรุปแล้วงูเขียวปากจิ้งจกที่พบในประเทศไทย มีถึง 3 สี คือ เขียวอ่อน เทาขาว และเหลืองทอง งูเขียวปากจิ้งจกสีทองตัวนี้ ถ่ายที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา บริเวณโป่งผีเสื้อ  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 17, 2555

ผีเสื้อที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา





คิดถึงผีเสื้อที่ปางสีดา เจ็บป่วยครานี้ ยังไม่แข็งแรงพอที่จะท่องไปชมความงามของธรรมชาติได้เลย

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 16, 2555

ความสัมพันธ์ของโรคกรดไหลย้อน กับ ศีลข้อวิกาลโภชนา




ระบบย่อยอาหารของมนุษย์  มีขั้นตอนการย่อยโดยสังเขปดังนี้  อาหารทุกอย่าง เมื่อเข้าสู่ปาก  ด่านแรกคือฟันขบกัด เคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง ขณะที่อาหารอยู่ในปาก น้ำลายจัดเป็นน้ำย่อยลำดับแรกที่คลุกเคล้าอาหารลงสู่กระเพาะ  มีกรดชนิดหนึ่งที่มีความเข้มข้นสูงมาก  มีระดับ pH ถึง 1-2 คือ กรดเกลือ หรือ กรดไฮโดรคลอริกแอซิก (HCl) ซึ่งสร้างจากเซลล์ของร่ายกายที่ชื่อ parietal cells  ทำหน้าที่ย่อยอาหาร  ขั้นตอนการย่อยต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
            ฉะนั้น หากเรากินอาหารมื้อเย็นแล้ว นอนก่อน 3 ชั่วโมง  กรดที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารซึ่งมีความเข้มข้นอยู่แล้ว จะไหลย้อนเข้าสู่ระบบหายใจขณะที่นอนราบ ทำให้ ร้อนคอ  ร้อนหน้าอก  เจ็บหน้าอก  หายใจไม่สะดวก  หอบเหนื่อย  หรือพาลเจ็บป่วยไปถึงโรคหัวใจได้
            พระพุทธองค์ท่านคือสัพพัญญู  รู้แจ้งแทงตลอด  จึงได้บัญญัติศีล ที่เรียกว่า อุโบสถศีล ข้อที่ 6 คือ วิกาลโภชนา  เวรมณี  เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล   ผลของการรักษาศีลข้อนี้ทำให้ไม่เจ็บป่วยจากอาการกรดไหลย้อนไงละ