วันอาทิตย์, กันยายน 23, 2555
กาญจนบุรีความหลังและความทรงจำ
เมื่อเรียนจบเป็นบัณฑิตหนุ่ม..ชีวิตงานเริ่มที่สถานีรถไฟไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี..แป็บเดียวหมดเวลาซะแล้ว...กลับไปเยี่ยมไทรโยคอีกครั้งก่อนเกษียณ......บันทึกความทรงจำ
วันจันทร์, กันยายน 17, 2555
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดอยู่ที่่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานที่มีแหล่งเรียนรู้กระจายที่สุด หากมาเที่ยวควรมีเวลาหลายวัน เพราะที่เรียนรู้มีทั้ง ภูเขา ทุ่งนา ทะเล และนากุ้ง นกและสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่น่าสนใจ
มิตรภาพระหว่างคนญี่ปุ่นกับคนไทย
คุณ MANABE และคุณ KAZUMI อาสาสมัครชาวญี่ปุ่น ที่เคยมาช่วยเหลือศูนย์วิทย์ฯสระแก้ว เวลาผ่านไปจากหนึ่งปีเป็นสองปีเป็นสามปี เขาไปมาหาเราตลอดมา แม้เวลาที่เกษียณอายุราชการยังนำของขวัญมามอบให้...เป็นปากกาทองคำขาว จำนวน 2 ด้าม สวยงามมาก ขอบคุณครับ
วันพุธ, กันยายน 12, 2555
ภาพเขียนโบราณที่ผนังถ้ำเกาะปันหยี
เกาะปันหยี อยู่กลางทะเลของจังหวัดพังงา มีบ้านเรือนของชาวมุสลิมอยู่ประมาณ 200 หลังคาเรือน บ้านเรือนแทบทั้งหมดอยู่บนทะเล แม้แต่สนามฟุตบอลยังลอยทะเลเลย..สำหรับผู้บันทึกแล้วสนใจภาพโบราณที่ผนังถ้ำ แต่ยังไม่สามารถสืบค้นรายละเอียดได้
ครั้งหนึ่งที่เกาะพีพี..7 กันยายน 2555
ความสุขเล็กๆบนเกาะใหญ่ๆที่มีชื่อว่า เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทุกคนจากทั่วโลกต่างใฝ่ฝันที่จะมาเที่ยวเกาะพีพีสักครั้ง...อายุก็ 61 ปีแล้วเพิ่งมา พีพี ครั้งแรก..ก็ OK ใช่ไหม
เส้นทางทะเลสู่เกาะปันหยี
เมื่อวันเกษียณอายุราชการมาถึง พี่น้องกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์ได้พยายามหาสิ่งดีๆ
ไว้ให้ ทั้งการจัดงานเลี้ยงผู้เกษียณซึ่งปีนี้
(55) กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์มีผู้เกษียณถึง 12 ท่าน ทำให้อย่างซาบซึ้ง ณ โรงแรมพังงาเบย์
รีสอร์ท จังหวัดพังงา ส่วนทริปการท่องเที่ยวเป็นทริปลงเรือที่ท่าเรือใกล้โรงแรมพังงาเบย์
รีสอร์ท เรือของพวกเราไปด้วยกัน 3 ลำ แต่ละลำบรรทุกผู้โดยสารลำละ 50 คน
ทุกคนมีชูชีพสวมใส่ซึ่งเป็นข้อบังคับ
บุคลากรกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์มาจากทั่วประเทศ ภาคเหนือมี ลำปาง นครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ขอนแก่น
ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี นครราชสีมา
ภาคกลางมี อยุธยา รังสิต เอกมัย
สมุทรสาคร กาญจนบุรี
และอุทยานพระจอมเกล้าฯ ณ หว้ากอ
ภาคตะวันออกหนึ่งเดียวคือสระแก้ว
ส่วนภาคใต้ เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้คือ ตรัง
นครศรีธรรมราช และยะลา
ทุกคนมีความสุขตลอดเส้นทาง โดยเริ่มแล่นเรือผ่าน เกาะปันหยี ผ่านเกาะหมาจู
ไปเกาะตะปู เขาพิงกัน
กลับมาแวะดูวิถีชีวิตของชาวมุสลิมบนเกาะปันหยี ซื้อของฝาก
ของใช้
พูดคุยทักทายซักถามความเป็นอยู่
แม้ว่าเป็นทริปสั้นๆ
แต่ทุกคนได้รับความสุขเต็มๆจากการเดินทางครั้งนี้
ทอผ้าที่นาหมื่นศรี
นาหมื่นศรี ในที่นี้คือกลุ่มสตรีทอผ้าที่แข็งแกร่ง อยู่อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ผ้าทอนาหมื่นศรีมีลวดลายการทอเฉพาะของตน
ภูมิปัญญาทอผ้าแห่งนี้ได้พัฒนาออกแบบลวดลายจนกลายเป็นลวดลายเอกลักษณ์ ผ้าที่มีลวดลายเช่นนี้ของแท้ต้องเป็น
“ผ้าทอนาหมื่นศรี”
สำหรับประวัติความเป็นมานั้นผู้สนใจสามารถพูดคุยกับภูมิปัญญาที่ดูแลกลุ่มทอผ้าแห่งนี้ได้
เชื่อว่าคุยกันได้ทั้งวันเรื่องราวความเป็นมาคงไม่หมด
ข้อมูลปัจจุบัน (กันยายน 2555) กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี มีกี่กระตุก ประมาณ 100
กี่ กระจายอยู่ในชุมชนนาหมื่นศรี โดยมี 30 กี่ อยู่ที่กลุ่มสตรีทอผ้า ใน 100 กี่ส่วนใหญ่สตรีแม่บ้านเป็นผู้ทอ มีพ่อบ้านทอกี่กระตุกประมาณ 10 คน การทอผ้าจะเป็นช่วงเวลาบ่าย เพราะช่วงเช้าทุกคนจัดการเรื่องสวนยาง กรีดยางก่อน
ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่เวลาตีสามแล้ว
ผ้าทอนาหมื่นศรีมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
สวยงาม ประณีตราคาเหมาะสม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)