ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นบริเวณหนึ่งที่สำรวจพบถ่านหินและถูกสำรองไว้เป็นพลังงานของประเทศ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่เจ็ด พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วิธีขุดถ่านหินใช้วิธีเปิดหน้าดิน ขนย้ายส่วนที่เป็นดินออกไปกองไว้ เพื่อนำกลับมากลบดังเดิมในโอกาสที่ขุดถ่านหินนำไปใช้พอแล้ว วิธีการเช่นนี้นับเป็นโอกาสที่ทำให้สามารถเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกของเรานับเวลาล้านปีที่ผ่านมาได้จากซากดึกดำบรรพ์ที่พบเจอจากการขุดลึกลงไปในชั้นดินกว่าสามร้อยเมตรบริเวณที่เคยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) มาก่อนในอดีต
เหมืองแม่เมาะเคยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในอดีต เมื่อขุดลงไปจึงพบซากดึกดำบรรพ์ เช่นซากช้างโบราณ ช้างสี่งา ซากหอย ซากตะพาบ ซากสาหร่าย ซากอื่น ๆ ซึ่งมีอายุนับล้านปี ในอนาคตเหมืองแม่เมาะจะปิดตัวลง เหมืองแม่เมาะจะถูกจัดการให้เป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้เรื่องซากดึกดำบรรพ์และประวัติศาสตร์การทำเหมืองถ่านหินของประเทศไทย ให้มนุษย์ชาติทั่วโลกได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้แห่งนั้น
เหมืองแม่เมาะเคยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในอดีต เมื่อขุดลงไปจึงพบซากดึกดำบรรพ์ เช่นซากช้างโบราณ ช้างสี่งา ซากหอย ซากตะพาบ ซากสาหร่าย ซากอื่น ๆ ซึ่งมีอายุนับล้านปี ในอนาคตเหมืองแม่เมาะจะปิดตัวลง เหมืองแม่เมาะจะถูกจัดการให้เป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้เรื่องซากดึกดำบรรพ์และประวัติศาสตร์การทำเหมืองถ่านหินของประเทศไทย ให้มนุษย์ชาติทั่วโลกได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้แห่งนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น