วันอังคาร, ธันวาคม 01, 2552

เรื่องของเมฆ






มนุษย์เราตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มา รู้จักเมฆเฝ้ามองเมฆและปรากฏการณ์ที่เกิดบนท้องฟ้า โดยมองด้วยมุมเงยคือมองจากพื้นดินขึ้นไป แน่นอนที่สุดว่ามุมมองในลักษณะเช่นนี้ ไม่สามารถมองเห็นส่วนที่ซ่อนเร้นของเมฆได้ มาปัจจุบันนี้ มนุษย์มียานพาหนะที่บินขึ้นไปเหนือฟ้าได้มุมมองในการมองเมฆจึงเป็นอีกมุมมองหนึ่ง
วันก่อนมีโอกาสเดินทางโดยเครื่องบินในประเทศจากสนามบินดอนเมืองไปจังหวัดตรัง ขณะที่เครื่องบิน บินในระดับความสูง 10,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ภาพเมฆที่ปรากฏอยู่ด้านล่างเครื่องบินสวยงามมากเป็นเหมือนปุยฝ้ายสีขาวปนเทา เป็นคลื่นเหมือนท้องทะเลที่มีฟองละเอียด เป็นปุยเมฆที่เห็นเป็นผืนใหญ่นี่คือเมฆที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อัลโตคิวมูลลัส” เครื่องบิน บินเหนือเมฆไปได้ประมาณ 30 นาที นักบินพาเครื่องบิน บินผ่านขอบก้อนเมฆขนาดยักษ์สีขาวปนเทาสูงตระหง่าน เมฆชนิดนี้เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตกหนัก ฟ้าผ่า หิมะตกได้ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส”
เมฆทั้งสองชนิดเกิดขึ้นต่อเนื่องและสัมพันธ์กันภาพทั้งสองภาพถ่ายจากหน้าต่างเครื่องบินฝั่งซ้ายดูแล้วสวยงามน่าประทับใจ