ช้างป่าเป็นสัตว์อายุยืนใกล้เคียงกับคน ช้างป่าฉลาดมีความจำ มีความสามารถเรียนรู้เรื่องที่ไม่ซับซ้อนได้ ที่สำคัญช้างป่ามีวัฒนธรรม มีรูปแบบการดำรงชีวิตในโขลงช้าง เช่น มีการจัดลำดับความสำคัญ ช้างป่าตัวที่เป็นใหญ่ในโขลงเป็นช้างพังเพศเมียระดับยายหรือย่า เรียงลำดับต่อไปเป็นป้า น้า อา ส่วนช้างพลายเพศผู้ถูกย่าหรือยายขับออกจากโขลงเมื่องาเริ่มยาวประมาณ 1 คืบ เป็นช้างโทนที่หากินอิสระ วัฒนธรรมเช่นนี้ เป็นการป้องกันการผสมพันธุ์ในโขลงเดียวกัน (หากเกิดเลือดชิด ช้างจะอ่อนแอ) นอกจากการอยู่ร่วมกันเป็นโขลงแล้ว ช้างยังมีเส้นทางหากินในป่าที่เรียกว่า “ด่านช้าง” ช้างเดินทางหากินตามทางด่านที่บรรพบุรุษช้างกำหนดไว้ เช่น เดินไปกินกระท้อนป่าที่ไหนเมื่อไร ไปกินดินโป่งที่ไหน ไปกินไผ่ที่ไหน ไปกินมะเดื่อที่ไหนเมื่อไร ช้างเดินทางไปหากินก็เหมือนกับคนที่เดินทางไปตลาด ตลาดมีอยู่บางที่ในเมือง แหล่งอาหารช้างก็มีอยู่บางแห่งในป่า ในป่าไม่ได้มีอาหารช้างทั้งหมด ช้างจำเป็นต้องกำหนดจุดหากินและเดินทางไปตามทางด่านช้าง ซึ่งเป็นเส้นทางที่แน่นอนมาแต่บรรพบุรุษ
เมื่อใดที่มนุษย์ตัดถนน ผ่านด่านช้างหรือเส้นทางเดินของช้าง รถกับช้างจำต้องพบกันแน่นอน เส้นทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเส้นทางหนึ่งที่ช้าง รถและคน อาจพบกันได้เสมอ
คน ช้าง ป่า เคยพึ่งพาและผูกพันคงเป็นเช่นนั้นตลอดไป
เมื่อใดที่มนุษย์ตัดถนน ผ่านด่านช้างหรือเส้นทางเดินของช้าง รถกับช้างจำต้องพบกันแน่นอน เส้นทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเส้นทางหนึ่งที่ช้าง รถและคน อาจพบกันได้เสมอ
คน ช้าง ป่า เคยพึ่งพาและผูกพันคงเป็นเช่นนั้นตลอดไป