บริเวณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง ในพื้นที่กว้างกว่า 30 ไร่ จึงเต็มไปด้วย กลุ่มไม้ใหญ่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เฟื่องฟ้า เข็ม ดาหลา บานบุรี ธูปจีน ซึ่งมีดอกรูปทรงกระบอกมีน้ำหวานอยู่ภายใน มีสระน้ำขนาดใหญ่ สองสระพร้อมเกาะกลางน้ำ ศูนย์วิทย์จึงมีนกอาศัยอยู่หลากหลายชนิด เช่น นกกินปลีอกเหลือง ครอบครองอาณาจักรเพียงต้นเฟื่องฟ้า บานบุรี และธูปจีน บินไป บินมา หากินน้ำหวานอยู่เพียง 3 ต้น เท่านั้นแหละ หากว่ามีนกกินปลีตัวอื่น ร่วงล้ำก็ขับไล่พอเป็นพิธีบอกให้รู้ว่า บริเวณนี้เป็นของฉันนะ ส่วนเจ้านกกระเต็นอกขาว คู่หนึ่ง ทำรังอยู่ในโพรงดินที่เกาะกลางสระ ขยันตื่นแต่เช้า ฟ้ายังไม่สาง กระเต็นอกขาวคู่นี้ตื่น เตรียมออกหาอาหาร ก่อนเดินทางร้องเสียงดัง... แก๊ก...แก๊ก...แก๊ก หากินที่สระโน้น...สระนี้ อาณาจักรของกระเต็นอกขาวครอบคลุม บริเวณศูนย์วิทย์ฯ ตรัง ทั้งหมด ทั้งกินปลีอกเหลือง และกระเต็นอกขาว อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กินปลีอกเหลืองกินน้ำหวานจากดอกไม้ กระเต็นอกขาว กินปลาเล็กจากในสระ กินพออิ่มกินอย่างพอเพียง
มืดค่ำก็พักผ่อนอยู่ในรังที่อบอุ่นแต่พอตัว นกทั้งสองชนิดไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อาณาจักรของตนเองทับซ้อนกัน ทับซ้อนกับเจ้าของบ้านที่เรียกตัวเองว่าศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง ผู้ยิ่งใหญ่
กินปลีอกเหลืองและกระเต็นอกขาวรู้แต่เพียงว่า “โลกนี้เป็นของทุกสรรพชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติสุข” หากมนุษย์เข้าใจธรรมชาติเหมือนนกโลกคงจะสงบสุขปราศจากการรบฆ่า ฟัน กันนะ
ภาพประกอบ “แปง” ถ่ายจากสถานที่จริง ศว.ตรัง ช่วงเวลาเดือน พฤษภาคม 2551
วันอังคาร, มิถุนายน 03, 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น