เกษตรกรคนทำไร่ ทำสวน
ในภาคเหนือ แต่เดิมแม้ถึงปัจจุบันนี้ เลี้ยงวัวไว้เพื่อลากเกวียน จึงมีวัวครอบครัวละ 2 ตัว ส่วนใหญ่เกษตรกรชอบเลือกวัวที่มี ขนาด สี นิสัย คล้ายกัน เราจึงพบเห็นวัวเทียมเกวียนเป็นคู่ มีสีขาว สีน้ำตาล
สีดำ ขนาดและอายุใกล้เคียงกัน เกษตรกรใช้วัวแต่ละคู่ไป 10-15 ปี
หลังจากว่างงานในการบรรทุกผลิตผลทางการเกษตร
จากไร่กลับมาถึงบ้านแล้ว
เกษตรกรล่ามวัวให้กินหญ้าโดยล่ามกับแร้ว
ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ลำยาว เจาะรูอยู่ระหว่างกระบอกไม้ไผ่ลำใหญ่
ซึ่งสวมอยู่บนหลักไม้
แร้วจึงหมุนไปได้รอบทิศ ปลายไม้ไผ่ลำยาวผูกเชือกและนำมาล่ามวัวไว้ ลักษณะเช่นนี้
เชือกล่ามวัวจึงไม่พันกับอะไร
แถมระยะทางเดินกินหญ้าเพิ่มมากขึ้นอีก
ตามความยาวของไม้ไผ่ลำยาว
แร้วล่ามวัว จึงเป็นนวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย ที่นำเอากระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้
ในเรื่องของ คาน จุดหมุน ได้อย่างประสมกลมกลืน อยากให้นวัตกรรมเช่นนี้ อยู่คู่ไทยไปอีกนานๆ
เพื่อให้วิถีชีวิตสอนวิทยาศาสตร์ให้ลูกหลานไทยตลอดไป