วันพุธ, สิงหาคม 10, 2554

คนธรรมดาก็บำเพ็ญตบะได้




เมื่อกิเลสจับ เราไม่เห็นตัวกิเลสหรอก เห็นเพียงอาการของกิเลส เช่น ฟุ้งซ่าน ท้อถอย ซึมเศร้า รำคาญ ง่วงเหงาฯลฯ ทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ หม่นหมองใจ ลองมาดูวิธีทำความเข้าใจกับการแก้ไขกิเลสทุกข์เหล่านี้ ตามวิธีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อินทรียสังวร ” ดูนะ อินทรียสังวร เป็นการสำรวมอินทรีย์โดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับ อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อายตนะภายใน”นั่นเอง พระพุทธองค์เปรียบเทียบอินทรีย์ทั้งหกไว้ดังนี้ ตา คนเราเหมือนงู (ชอบลึกลับซับซ้อน) หู คนเราเหมือนจระเข้ (ชอบที่เย็น) จมูก คนเราเหมือนนก (ชอบตามกลิ่น) ลิ้น คนเราเหมือนหมาบ้าน (ชอบหากินของอร่อย) กาย คนเราเหมือนหมาป่า(ชอบที่อุ่น) ใจ คนเราเหมือนลิง(ไม่นิ่งชอบซุกซน)
เมื่อรู้ธรรมชาติของอินทรีย์ทั้งหกเป็นเช่นนี้ การระวังอินทรีย์โดยใช้สติเข้ากำกับ จึงควรเป็นดังนี้ “อะไรไม่ควรดูก็อย่าดู อะไรไม่ควรฟังก็อย่าฟัง อะไรไม่ควรดมก็อย่าดม อะไรไม่ควรชิมก็อย่าชิม อะไรไม่ควรสัมผัสก็อย่าสัมผัส อะไรไม่ควรคิดก็อย่าคิด ” หากละได้บุคคลผู้นั้นย่อมถือว่าเป็นบุคลผู้บำเพ็ญตบะ(ทำให้ร้อน) เพื่อกำจัดกิเลสทุกข์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว
เรียบเรียง จากมงคลชีวิตที่ 31 บำเพ็ญตบะ (ฐานวุฑฺโฒ ภิกฺขุ)

ไม่มีความคิดเห็น: