พระพุทธศาสนา พูดถึง ไตรลักษณ์ ซึ่งหมายถึงทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสามคำมีความหมายแสดง ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนไป ความไม่คงอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกของเรา แม้แต่โลกของเราเองก็อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์นี้ แต่เราเข้าใจรับรู้ ไตร่ตรอง มองความเป็นไปได้เข้าใจสักเพียงใดละ บุคคลผู้จะเข้าใจกฎไตรลักษณ์ย่อมเป็นบุคคลที่จิตมีคุณภาพ จิตหยุด จิตนิ่ง เขาจึงสามารถไตร่ตรองโดยแยบคายได้ เมื่อเข้าใจกฎไตรลักษณ์ก็จะไม่หวั่นไหวกับโลกธรรมที่ทุกผู้คนแสวงหาและทุกผู้คนหลีกหนี โลกธรรมที่ทุกผู้คนแสวงหาได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โลกธรรมที่ทุกผู้คนหลีกหนีได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ โลกธรรมทั้งแปดทำให้ผู้คนหวั่นไหว ทั้งหัวเราะ ทั้งร้องไห้ เมื่อถูกกระทบ หากเราเข้าใจกฎไตรลักษณ์ เข้าใจโลกธรรม เข้าใจตนเองที่อยู่ในวัฎฏสงสารนี้ จึงเข้าใจคาถาบทที่ว่า “ตถตา เป็นเช่นนั้นเอง”
วันพฤหัสบดี, เมษายน 28, 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น