วันอังคาร, มิถุนายน 22, 2553

วงจรชีวิตผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาวที่ปางสีดา













ที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา ชุกชุมไปด้วยผีเสื้อ มีการสำรวจชนิดใหม่ ๆเพิ่มขึ้นเสมอ มีรายงานการพบมากกว่า 400 ชนิด ทั้งผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) ผีเสื้อกลางคืน (Moth) ผีเสื้อกลางวันพบทุกวงศ์ ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว และวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง ผีเสื้อหนอนมะนาวเป็นผีเสื้อหางติ่งชนิดหนึ่ง เจ้าหน้าที่สื่อความหมายของอุทยานแห่งชาติปางสีดาชื่อ ปีย์ ได้เฝ้าศึกษาผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาวที่อยู่ในธรรมชาติ พบว่าวงจรชีวิตของผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาวมี 4 ระยะ ระยะที่หนึ่ง ไข่ แม่ผีเสื้อไข่ 1 ฟอง ไว้ใต้ใบไม้ ใบพืชตระกูลส้ม เช่น มะสังข์ เทพโร ระยะที่สอง เป็นหนอน หนอนเปลี่ยนรูป 3 – 4 ครั้ง โดยทั่วไปเปลี่ยน 4 ครั้ง ขนาดจะโตขึ้นตามจำนวนครั้งที่เปลี่ยน ระยะที่สาม ดักแด้ หนอนที่เปลี่ยนรูปครั้งที่ 4 เข้าดักแด้ ระยะนี้ไม่มีการกินอาหารแล้วดักแด้มีสีน้ำตาล ระยะที่สี ผีเสื้อ เป็นระยะผสมพันธุ์ วางไข่ อาหารผีเสื้อหนอนมะนาวได้แก่ น้ำหวานเกสรดอกหญ้าบางชนิด
สรุปว่า ผีเสื้อหนอนมะนาวกว่าจะเป็นผีเสื้อที่แสนสวย ได้ผ่านกาลเวลาที่ผู้คนรังเกียจในระยะที่เป็นหนอน ความสวยอาจซ่อนไว้ในความขี้เหล่ก็เป็นได้นะ

ไม่มีความคิดเห็น: