ถ้าพูดถึงแก่งตะนะหรือเขื่อนปากมูลคนทั่วประเทศนึกออกได้ว่าอยู่จังหวัดอุบลราชธานี รู้ถึงความขัดแย้งของชุมชนเกี่ยวกับน้ำ เกี่ยวกับเขื่อน เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวประมงลุ่มน้ำมูล แต่เรื่องที่เขียนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับครูคนหนึ่งที่รักม้า กลัวม้า แต่มาเป็นคนเลี้ยงม้าพันธุ์พื้นบ้าน ที่บ้านหนองชาด อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ครูชูชาติ วารปรีดี ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดลำปาง ด้วยวิถีของการเป็นข้าราชการ ทำให้ครูชูชาติมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี มามีชีวิตและครอบครัวที่นั่น เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ครู ชูชาติเล่าว่า “เหตุแห่งการมาเป็นคนเลี้ยงม้าเกิดจากวันหนึ่งพาลูกชายตัวเล็กๆ ชื่อ“ปอบปูลา” เข้าไปในหมู่บ้านและรับรู้เรื่องราวว่า ม้าถูกฆ่าโดยใช้กระสอบคุมหัวแล้วใช้ค้อนทุบจนตายเพื่อนำไปทำลูกชิ้น ทั้งพ่อลูกสลดใจโดยเฉพาะปอบปูลา จากเหตุที่รับรู้ในวันนั้นครูชูชาติเริ่มคิด หากเหตุการณ์เป็นไปเช่นนี้ไม่ช้าม้าพันธุ์พื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นสัตว์กู้ชาติต้องสูญพันธุ์แน่ ๆ ครูชูชาติจึงเริ่มต้นศึกษาเรียนรู้กับภูมิปัญญาภูมิรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับม้าทั้งที่ กลัว ๆ กล้า ๆ วันเวลาผ่านไปหลายปี ครูชูชาติได้ชักชวนชาวบ้านหนองชาดมาร่วมกันอนุรักษ์ม้าและก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านขึ้น เพื่อการเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพื่อการบำบัดเด็กพิเศษ ปัจจุบันชมรมมีม้าอยู่ กว่า 40 ตัว”
ครูชูชาติสรุปตอนท้ายของการพูดคุยว่า “ผมไม่ได้คิดอะไรมากเพียงแต่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าของม้าพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ร่วมกู้ชาติให้ประเทศเป็นไทถึงทุกวันนี้เท่านั้น”
ครูชูชาติ วารปรีดี ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดลำปาง ด้วยวิถีของการเป็นข้าราชการ ทำให้ครูชูชาติมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี มามีชีวิตและครอบครัวที่นั่น เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ครู ชูชาติเล่าว่า “เหตุแห่งการมาเป็นคนเลี้ยงม้าเกิดจากวันหนึ่งพาลูกชายตัวเล็กๆ ชื่อ“ปอบปูลา” เข้าไปในหมู่บ้านและรับรู้เรื่องราวว่า ม้าถูกฆ่าโดยใช้กระสอบคุมหัวแล้วใช้ค้อนทุบจนตายเพื่อนำไปทำลูกชิ้น ทั้งพ่อลูกสลดใจโดยเฉพาะปอบปูลา จากเหตุที่รับรู้ในวันนั้นครูชูชาติเริ่มคิด หากเหตุการณ์เป็นไปเช่นนี้ไม่ช้าม้าพันธุ์พื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นสัตว์กู้ชาติต้องสูญพันธุ์แน่ ๆ ครูชูชาติจึงเริ่มต้นศึกษาเรียนรู้กับภูมิปัญญาภูมิรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับม้าทั้งที่ กลัว ๆ กล้า ๆ วันเวลาผ่านไปหลายปี ครูชูชาติได้ชักชวนชาวบ้านหนองชาดมาร่วมกันอนุรักษ์ม้าและก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านขึ้น เพื่อการเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพื่อการบำบัดเด็กพิเศษ ปัจจุบันชมรมมีม้าอยู่ กว่า 40 ตัว”
ครูชูชาติสรุปตอนท้ายของการพูดคุยว่า “ผมไม่ได้คิดอะไรมากเพียงแต่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าของม้าพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ร่วมกู้ชาติให้ประเทศเป็นไทถึงทุกวันนี้เท่านั้น”
1 ความคิดเห็น:
อยากเลี้ยงม้าม๊ากมากเรยค่ะ
แต่ราคาค่อนข้างสุง
อย่าขี่ดูบ้าง
อยากให้ลองแนะนำค่ะ
cat.parw@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น