ลูกเป็ดแดง
Water Buffalo
สุรวุฒิ ขันธ์คง
นับเวลาถอยหลังที่จะได้อยู่และทำงานในภาคใต้แล้ว ช่วงบ่ายวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ที่ห้องทำงาน “วุฒิ” ทะเลน้อยอยู่ไกลจากตรังกี่กิโลเมตร พี่ไม่มีข้อมูลของทะเลน้อยเลย วุฒิหันมาบอก “ผอ ผมพาไปตอนนี้เลย” นั่งรถไปประมาณชั่วโมงครึ่งก็ถึงแล้ว จากตรังไปอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ด้วยเหตุฉะนี้ทำให้เห็นทะเลน้อย จริง ๆ ไม่ได้จินตนาการนึกคิดเอาเอง
ชื่อทะเลน้อยแต่ความจริงแล้วเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่กินพื้นที่ติดต่อถึง 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ในเดือนสิงหาคมความลึกของน้ำเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร ความลึกของโคลนประมาณ 60 เซนติเมตร พืชที่มีปรากฏอยู่โดยรอบคือ ต้นเสม็ดขาวเป็นต้น ไม้ที่มีขนาดกลางสูงประมาณ 5 เมตร มีเปลือกหนาคล้ายกระดาษซ้อน ๆ กันเป็นสิบชั้นชอบขึ้นอยู่บริเวณป่าพรุ โดยทั่วไปในกลางทะเลน้อยมีไม้น้ำได้แก่ ต้นกง (คล้ายพลับพลึง) กระจูดหนู บัวหลวง บัวสาย ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ผักกะเฉด พง และพวกสาหร่ายใต้น้ำ ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ถามคนขับเรือบ้าง คุยกับน้อง ๆ ที่ไปด้วยกันบ้าง เกือบลืมไปค่าจ้างเรือเขาคิด 400 บาท ถ้าไม่บอกให้หยุดลุงแกก็ขับไปเรื่อย ๆ ตามเส้นทางของแก ขับออกนอกเส้นทางไม่ได้ เรือจะดับเพราะสาหร่ายใต้น้ำพันใบพัดเรือ แต่เข้าใจเอาเองว่า ถ้าเรือออกนอกเส้นทางอาจไปตัดตาข่ายดักปลาของชาวประมงในทะเลน้อยมากกว่า พูดถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปให้เห็นภาพก่อน ต่อไปนี้จะเข้าถึงเรื่อง “นกน้ำที่ทะเลน้อยละ”
ทะเลน้อยเป็นป่าชุ่มน้ำระดับโลก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกชนิดต่าง ๆ ที่หากินกับน้ำ เริ่มจากที่เห็น ทะเลน้อยอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาณาจักรของนก “อีโก้ง” ก็ว่าได้ เราจะเห็นนกอีโก้ง อยู่ เกาะหากินในกลุ่มต้นกงเต็มไปหมด นกเป็ดน้ำ ลูกนกเป็ดแดงเป็นฝูง เป็ดผี นกนางแอ่น กะปูด จาบคา กา เหยี่ยวแดง และอีกหลายชนิดที่จำได้ไม่หมด
ที่สำคัญได้เห็นความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างคน (ชาวประมงและคนขับเรือ พ่อค้า แม่ค้า) นก ไม้และน้ำ อยู่ร่วมอย่างเกาะเกี่ยวผูกพันกันก่อนนี้มาและน่าจะตลอดไป หกโมงสี่สิบนาทีเราจากทะเลน้อยที่ยิ่งใหญ่ของสรรพชีวิต......ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรจะได้มาอีก
ชื่อทะเลน้อยแต่ความจริงแล้วเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่กินพื้นที่ติดต่อถึง 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ในเดือนสิงหาคมความลึกของน้ำเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร ความลึกของโคลนประมาณ 60 เซนติเมตร พืชที่มีปรากฏอยู่โดยรอบคือ ต้นเสม็ดขาวเป็นต้น ไม้ที่มีขนาดกลางสูงประมาณ 5 เมตร มีเปลือกหนาคล้ายกระดาษซ้อน ๆ กันเป็นสิบชั้นชอบขึ้นอยู่บริเวณป่าพรุ โดยทั่วไปในกลางทะเลน้อยมีไม้น้ำได้แก่ ต้นกง (คล้ายพลับพลึง) กระจูดหนู บัวหลวง บัวสาย ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ผักกะเฉด พง และพวกสาหร่ายใต้น้ำ ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ถามคนขับเรือบ้าง คุยกับน้อง ๆ ที่ไปด้วยกันบ้าง เกือบลืมไปค่าจ้างเรือเขาคิด 400 บาท ถ้าไม่บอกให้หยุดลุงแกก็ขับไปเรื่อย ๆ ตามเส้นทางของแก ขับออกนอกเส้นทางไม่ได้ เรือจะดับเพราะสาหร่ายใต้น้ำพันใบพัดเรือ แต่เข้าใจเอาเองว่า ถ้าเรือออกนอกเส้นทางอาจไปตัดตาข่ายดักปลาของชาวประมงในทะเลน้อยมากกว่า พูดถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปให้เห็นภาพก่อน ต่อไปนี้จะเข้าถึงเรื่อง “นกน้ำที่ทะเลน้อยละ”
ทะเลน้อยเป็นป่าชุ่มน้ำระดับโลก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกชนิดต่าง ๆ ที่หากินกับน้ำ เริ่มจากที่เห็น ทะเลน้อยอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาณาจักรของนก “อีโก้ง” ก็ว่าได้ เราจะเห็นนกอีโก้ง อยู่ เกาะหากินในกลุ่มต้นกงเต็มไปหมด นกเป็ดน้ำ ลูกนกเป็ดแดงเป็นฝูง เป็ดผี นกนางแอ่น กะปูด จาบคา กา เหยี่ยวแดง และอีกหลายชนิดที่จำได้ไม่หมด
ที่สำคัญได้เห็นความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างคน (ชาวประมงและคนขับเรือ พ่อค้า แม่ค้า) นก ไม้และน้ำ อยู่ร่วมอย่างเกาะเกี่ยวผูกพันกันก่อนนี้มาและน่าจะตลอดไป หกโมงสี่สิบนาทีเราจากทะเลน้อยที่ยิ่งใหญ่ของสรรพชีวิต......ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรจะได้มาอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น