skip to main
|
skip to sidebar
เรียนรู้รายบุคคล
วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 28, 2551
สิบแปดสิงหาคมสองห้าห้าหนึ่งที่ทุ่งค่าย
ดร. ชัยรัตน์ - ดร. วีระนุช นิลนนท์
วรางคณา เถาธรรมพิทักษ์
สัมภาษ์ ETV
บันทึกเทป ETV
ต้อนรับท่านเลขาธิการ กศน. นายอภิชาติ จีระวุฒิ
ดำเนินการเสวนาเรื่อง "นกและธรรมชาติ"
ฉันเอง
คลายเหนื่อย
วันอังคาร, สิงหาคม 26, 2551
นกน้ำที่ทะเลน้อย
ลูกเป็ดแดง
Water Buffalo
สุรวุฒิ ขันธ์คง
นับเวลาถอยหลังที่จะได้อยู่และทำงานในภาคใต้แล้ว ช่วงบ่ายวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ที่ห้องทำงาน “วุฒิ” ทะเลน้อยอยู่ไกลจากตรังกี่กิโลเมตร พี่ไม่มีข้อมูลของทะเลน้อยเลย วุฒิหันมาบอก “ผอ ผมพาไปตอนนี้เลย” นั่งรถไปประมาณชั่วโมงครึ่งก็ถึงแล้ว จากตรังไปอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ด้วยเหตุฉะนี้ทำให้เห็นทะเลน้อย จริง ๆ ไม่ได้
จินตนาการนึกคิดเอาเอง
ชื่อทะเลน้อยแต่ความจริงแล้วเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่กินพื้นที่ติดต่อถึง 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ในเดือนสิงหาคมความลึกของน้ำเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร ความลึกของโคลนประมาณ 60 เซนติเมตร พืชที่มีปรากฏอยู่โดยรอบคือ ต้นเสม็ดขาวเป็นต้น ไม้ที่มีขนาดกลางสูงประมาณ 5 เมตร มีเปลือกหนาคล้ายกระดาษซ้อน ๆ กันเป็นสิบชั้นชอบขึ้นอยู่บริเวณป่าพรุ โดยทั่วไปในกลางทะเลน้อยมีไม้น้ำได้แก่ ต้นกง (คล้ายพลับพลึง) กระจูดหนู บัวหลวง บัวสาย ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ผักกะเฉด พง และพวกสาหร่ายใต้น้ำ ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ถามคนขับเรือบ้าง คุยกับน้อง ๆ ที่ไปด้วยกันบ้าง เกือบลืมไปค่าจ้างเรือเขาคิด 400 บาท ถ้าไม่บอกให้หยุดลุงแกก็ขับไปเรื่อย ๆ ตามเส้นทางของแก ขับออกนอกเส้นทางไม่ได้ เรือจะดับเพราะสาหร่ายใต้น้ำพันใบพัดเรือ แต่เข้าใจเอาเองว่า ถ้าเรือออกนอกเส้นทางอาจไปตัดตาข่ายดักปลาของชาวประมงในทะเลน้อยมากกว่า พูดถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปให้เห็นภาพก่อน ต่อไปนี้จะเข้าถึงเรื่อง “นกน้ำที่ทะเลน้อยละ”
ทะเลน้อยเป็นป่าชุ่มน้ำระดับโลก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกชนิดต่าง ๆ ที่หากินกับน้ำ เริ่มจากที่เห็น ทะเลน้อยอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาณาจักรของนก “อีโก้ง” ก็ว่าได้ เราจะเห็นนกอีโก้ง อยู่ เกาะหากินในกลุ่มต้นกงเต็มไปหมด นกเป็ดน้ำ ลูกนกเป็ดแดงเป็นฝูง เป็ดผี นกนางแอ่น กะปูด จาบคา กา เหยี่ยวแดง และอีกหลายชนิดที่จำได้ไม่หมด
ที่สำคัญได้เห็นความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างคน (ชาวประมงและคนขับเรือ พ่อค้า แม่ค้า) นก ไม้และน้ำ อยู่ร่วมอย่างเกาะเกี่ยวผูกพันกันก่อนนี้มาและน่าจะตลอดไป หกโมงสี่สิบนาทีเราจากทะเลน้อยที่ยิ่งใหญ่ของสรรพชีวิต......ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรจะได้มาอีก
วันเสาร์, สิงหาคม 16, 2551
จากฝั่งอันดามันสู่อรัญประเทศ
15 สิงหาคม 2551 เวลา 16.13 น มี fax มาถึงศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรังเป็น fax คำสั่งย้ายและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 1023/2551 สั่ง ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2551 ลำดับที่ 9 นายปัญญา วารปรีดี ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง ให้ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว เลขที่ตำแหน่งใหม่คือ 2491 โดยโอนอัตราเงินเดือนตามตัวสับเปลี่ยนไปตั้งจ่ายในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง........เมื่อรู้ว่าต้องไปจากตรัง...เกิดอาการวังเวง....เหงา....ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่ดีมากทั้งเพื่อนร่วมงาน อากาศธรรมชาติ อาหาร ผู้คนมีน้ำใจ โดยเฉพาะงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสามัคคีความตั้งใจใส่ใจงานของบุคลากร...แต่ต้องจากไปด้วยเหตุผลของครอบครัว.....ทุกอย่างประทับไว้ในความทรงจำ....เมื่อหกโมงเช้าวันนี้..แต้วแล้วธรรมดาตัวหนึ่ง(ปกติร้องปลุกทุกเช้า)มาร้อง...มาหา...มาลา...ที่เกาะกลางสระน้ำอยู่ 2-3 นาที แล้วเราก็จากกัน...
วันศุกร์, สิงหาคม 15, 2551
นามสกุลพระราชทาน
วันหนึ่งขณะที่สืบค้นข้อมูลใน http:/www.google.co.th key คำว่า"วารปรีดี"เข้าไปมี website ปรากฏมากพอสมควร นั่งอ่านไปเรื่อยๆ สะดุดที่ website หนึ่งคือ
http://www.amed.go.th/
พูดถึงนามสกุลพระราชทาน ในข้อมูลบอกว่า"วารปรีดี"เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 5193 พระราชทานเมื่อ 14/6/19 โดยเขียนเป็นภาษาโรมันไว้ด้วย Va^ rapriti หลังตัว a ที่ว่างไว้มีสัญลักษณ์หมวกอยู่ พระราชทานให้ร้อยตำรวจโทขุนกำจรกิตติคุณ(ทุ้ย) สมุหบาญชีมณทลพิศนุโลก ปู่ชื่อ วา บิดาชื่อขุนภรณ์(ปลื้ม)......พ่อเล่าเรื่องราวในชีวิตท่านให้เราฟังน้อยมาก...บัดนี้พ่อจากไปแล้ว เรารักพ่อ เราจะทำดีที่สุดเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน...ตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน
วันจันทร์, สิงหาคม 11, 2551
ความทรงจำที่สอง
เก็บสิ่งดีๆไว้ในความทรงจำของชีวิต
ปลูกต้นพิกุลและต้นศรีตรัง
ร่วมพิธีปลูกต้นศรีตรังกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตรังนายอานนท์ มนัสวานิช
เก็บภาพถ่ายไว้ในความทรงจำ
เกาะลิบงจังหวัดตรังมองเห็นแต่ไกล.... ถ่ายจากหาดยาว
ปลายหาดเกาะลิบง...ทะเลด้านหลังบางครั้งเห็นฝูงโลมา
ร้านอาหารหาดยาวซีฟู๊ด...ข้าวผัดปลาเค็มอร่อย
หน้าศาลหลักเมืองจังหวัดตรัง
ใส่สูทไปทำงานซักวัน
ปิดบังความหล่อไว้นานแล้ว
วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 07, 2551
ศัตรูที่แท้จริงของเรา
ในห้วงเวลาหนึ่งของชีวิต....ยามเงียบ......โดดเดี่ยว นิ่ง... จิตนิ่ง... กลับพบความจริงบางอย่างที่จริงแล้วมันเป็นจริงเช่นนี้เสมอมาและตลอดไป แต่เราระลึกไม่ได้...... ความกลัวของเราที่เกิดขึ้นในใจกลับเป็นศัตรูที่คอยทำร้ายเรา หลอกหลอนเรา ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในใจเราทำให้หวั่นไหว กลับเป็นศัตรูที่คอยทำร้ายเรา ความเบื่อหน่าย ความเกียจคร้าน ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉาริษยา อวิชชา* ที่เกิดขึ้นในใจกลับเป็นศัตรูที่คอยทำร้ายเราตลอดเวลา
สรุปว่า ศัตรูที่แท้จริงที่จะทำลายเราได้ไม่ใช่ศัตรูภายนอกที่ไหน มันคือ “ตัวของเราเองนี่แหละที่ทำลายความเป็นตัวตนของเรา”
*อวิชชา คือ ความไม่รู้ คือ ไม่รู้ในอริยสัจสี่ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
วันพุธ, สิงหาคม 06, 2551
ความทรงจำ
ความผูกพันระหว่างธรรมชาติและชีวิตเกาะเกี่ยวกันมาแต่ดึกดำบรรพ์
ผูกพันเกาะเกี่ยว ....ถ่ายที่ทุงค่าย
เหนือจินตนาการ .......เรือนยอดไม้ที่ทุ่งค่าย
ทองขาวเพื่อนกัน..พวกกัน
ความสวยงามของจิตใจผู้คน...เพื่อนร่วมงาน...
ความสวยงามของธรรมชาติ...ฝากไว้ในความทรงจำของฉัน
โต๊ะทำงานของฉัน
หน้าห้องทำงาน
อาคารอำนวยการ
วิมานคนตรัง .....ที่อบอุ่นร่มเย็น
ราชรถสองล้อ จักรยานคู่ใจ
แท่นบรรทมบรมสุข
ธรรมชาติที่ร่มรื่น มองเห็นต้นสาคูในสระน้ำ
เรือนโบราณบ้านคนตรัง
ราชรถหลายล้อ
วันอังคาร, สิงหาคม 05, 2551
เทือกเขาบรรทัด
ในวัฒนธรรมไทย ชื่อคน ชื่อสิ่งของชื่อสถานที่ ชื่อสื่อความหมายในสิ่งนั้นๆ เช่นชื่อเทือกเขาบรรทัดแสดงว่าเทือกเขานั้นมีลักษณะเป็นแนวตรงคล้ายบรรทัด ความจริงแล้วก็เป็นเช่นนั้น เทือกเขาบรรทัดแนวเทือกเขาเป็นแนวตรงพาดจากทิศเหนือไปทางทิศใต้กั้นทะเลสองฟากทางทิศตะวันออกคือทะเลฝั่งอ่าวไทยเป็นที่ตั้งจังหวัดสงขลาและพัทลุง ทางทิศตะวันตกคือทะเลฝั่งอันดามันเป็นที่ตั้งจังหวัดตรังและสตูล สรุปแล้วสี่จังหวัดนี้หันหลังผิงเขาหันหน้าลงทะเลนับว่าถูกหลักฮวงจุ้ยตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน ทำอะไรก็เจริญ ค้าขายก็ก้าวหน้า ทำสวนยาง สวนปาล์มราคาก็ดี ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส ตื่นตัดยางตั้งแต่ตีสาม เช้าก็ส่งน้ำยางไปขาย สายก็ไปแข่งนกกรงหัวจุก บ่ายๆมีเวลาจูงวัวชนไปออกกำลัง วิถีชีวิตการเป็นอยู่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม อีกมุมหนึ่งของชาวประมงชายฝั่ง มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ตีสามผู้ชายออกเรือไปหาปลากลับมาบ่ายสามโมง ผู้หญิงและเด็กๆเก็บปลาจากอวนไปขาย ผู้ชายผ่อนคลายความอ่อนล้า..จิบน้ำชา..โกปี้..สิ่งที่พบเห็นเป็นวิถีชีวิตที่ดูแล้วมีความสุข อยากเห็นภาพของประเทศไทยเป็นเช่นนี้ตลอดไป อยากเห็นประเทศไทยมีป่ามีเขาเป็นเกราะกำบัง อยากเห็นฝั่งทะเลมหาสมุทรเป็นแหล่งอาหาร อยากเห็นท้องนาเหลืองอร่ามไปด้วยข้าว อยากเห็นฟ้าสีครามสดใสไร้มลพิษ อยากบอกว่า”รักประเทศไทยจังเลย”
วันเสาร์, สิงหาคม 02, 2551
พิพิธภัณฑ์"ยิ้มสยาม"
ณ พ.ศ.2570 เด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ยิ้มสยามอย่างเงียบ ๆ ในพิพิธภัณฑ์ยิ้มสยามมีภาพของคนไทยในอดีต ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีการช่วยเหลือเอื้ออาทร มีภาพการลงแขก (เอาแรงซึ่งกันและกัน) ทำนา มีภาพการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เช่น ภาพการบรรทุกเกลือไปแลกข้าว ภาพการนำเกวียนบรรทุกตุ่มใส่น้ำไปแลกน้ำตาลมะพร้าวแลกน้ำมันยาง ภาพทุกภาพของคนไทยมีแต่รอยยิ้ม............ยิ้มที่ปรากฏออกมาจากดวงตาของคนไทยทุกคน
“รอยยิ้มสยามเริ่มหายไปจากประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2551.... สังคมไทยเริ่มต้นตัดสินเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ โดยอ้างกฎหมายอ้างหลักนิติธรรม การฟ้องร้องคดีความเกิดขึ้นอย่างมากมาย การแบ่งพรรคแบ่งพวกเกิดขึ้นทุกแห่งหน คนไทยดูคล้ายว่าจะมีศัตรูอยู่รอบตัว หลักคุณธรรมและวัฒนธรรมที่เคยมีเคยเอื้ออาทรต่อกันใช้ไม่ได้ ไม่มีการไกล่เกลี่ย ไม่มีการเจรจา ไม่ออมชอม ไม่รู้จักคำว่าสมานฉันท์ ด้วยเหตุการณ์เช่นนี้จึงทำให้ “รอยยิ้มสยาม” หายไปจากคนไทย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา”
คำบรรยายทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งที่วิทยากรนำชมพิพิธภัณฑ์ยิ้มสยาม บรรยายให้เด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งฟังใน วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2570
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เกี่ยวกับฉัน
ปัญญา วารปรีดี
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
คลังบทความของบล็อก
►
2016
(2)
►
ตุลาคม
(1)
►
มีนาคม
(1)
►
2015
(7)
►
ธันวาคม
(1)
►
ตุลาคม
(1)
►
สิงหาคม
(1)
►
มิถุนายน
(2)
►
เมษายน
(1)
►
กุมภาพันธ์
(1)
►
2014
(10)
►
ธันวาคม
(3)
►
ตุลาคม
(5)
►
สิงหาคม
(2)
►
2013
(12)
►
ตุลาคม
(5)
►
เมษายน
(2)
►
มีนาคม
(1)
►
กุมภาพันธ์
(1)
►
มกราคม
(3)
►
2012
(73)
►
ธันวาคม
(10)
►
พฤศจิกายน
(5)
►
ตุลาคม
(1)
►
กันยายน
(7)
►
สิงหาคม
(14)
►
กรกฎาคม
(3)
►
มิถุนายน
(7)
►
พฤษภาคม
(6)
►
เมษายน
(4)
►
มีนาคม
(5)
►
กุมภาพันธ์
(4)
►
มกราคม
(7)
►
2011
(138)
►
ธันวาคม
(3)
►
พฤศจิกายน
(36)
►
ตุลาคม
(5)
►
กันยายน
(18)
►
สิงหาคม
(10)
►
กรกฎาคม
(14)
►
มิถุนายน
(9)
►
พฤษภาคม
(10)
►
เมษายน
(6)
►
มีนาคม
(7)
►
กุมภาพันธ์
(12)
►
มกราคม
(8)
►
2010
(113)
►
ธันวาคม
(4)
►
พฤศจิกายน
(3)
►
ตุลาคม
(10)
►
กันยายน
(12)
►
สิงหาคม
(12)
►
กรกฎาคม
(10)
►
มิถุนายน
(6)
►
พฤษภาคม
(8)
►
เมษายน
(14)
►
มีนาคม
(5)
►
กุมภาพันธ์
(20)
►
มกราคม
(9)
►
2009
(118)
►
ธันวาคม
(18)
►
พฤศจิกายน
(4)
►
ตุลาคม
(10)
►
กันยายน
(11)
►
สิงหาคม
(5)
►
กรกฎาคม
(5)
►
มิถุนายน
(8)
►
พฤษภาคม
(24)
►
เมษายน
(13)
►
มีนาคม
(9)
►
กุมภาพันธ์
(6)
►
มกราคม
(5)
▼
2008
(70)
►
ธันวาคม
(11)
►
พฤศจิกายน
(5)
►
ตุลาคม
(5)
►
กันยายน
(8)
▼
สิงหาคม
(9)
สิบแปดสิงหาคมสองห้าห้าหนึ่งที่ทุ่งค่าย
นกน้ำที่ทะเลน้อย
จากฝั่งอันดามันสู่อรัญประเทศ
นามสกุลพระราชทาน
ความทรงจำที่สอง
ศัตรูที่แท้จริงของเรา
ความทรงจำ
เทือกเขาบรรทัด
พิพิธภัณฑ์"ยิ้มสยาม"
►
กรกฎาคม
(1)
►
มิถุนายน
(10)
►
พฤษภาคม
(9)
►
เมษายน
(7)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
2007
(11)
►
พฤศจิกายน
(3)
►
สิงหาคม
(1)
►
มีนาคม
(2)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
2006
(28)
►
ธันวาคม
(2)
►
พฤศจิกายน
(4)
►
พฤษภาคม
(3)
►
เมษายน
(1)
►
มีนาคม
(7)
►
กุมภาพันธ์
(4)
►
มกราคม
(7)
Links
Google News
Edit-Me
Edit-Me