วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 11, 2554

เห็นสมณะคือเห็นความสงบ



สมณะ คือใคร ? และใครจึงเรียกสมณะได้ ? พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท เล่มที่ 25 ข้อที่ 29 หน้าที่ 50 กล่าวถึงสมณะความว่า “ คนเราไม่ใช่จะเป็นสมณะเพราะหัวโล้น คนที่ไม่ทำกิจวัตร มีแต่พูดพล่อยๆ มีความริษยากัน เป็นคนละโมบ จะจัดเป็นสมณะได้อย่างไร คนที่เราตถาคตเรียกว่าสมณะนั้น จะต้องเป็นผู้ระงับจากการทำบาปน้อยใหญ่เสีย ” จากพุทธพจน์ดังกล่าว สมณะจึงเป็นบรรพชิตแน่ แต่บรรพชิตรูปใดไม่ทำกิจวัตรย่อมไม่ใช่สมณะ เพราะสมณะ แปลว่า ผู้สงบ ซึ่งหมายถึงบรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรมฝึกฝนตนเองด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาแล้วอย่างเต็มที่ จนกระทั้งมี กาย วาจา ใจ สงบแล้วจากบาป
ฉะนั้นสมณะจึงเป็นมาตรฐานความประพฤติของชาวโลกทั้งหลาย
เรียบเรียง จาก มงคลชีวิตที่ 29 เห็นสมณะ (ฐานวุฑฺโฒฺ ภิกฺขุ )

ไม่มีความคิดเห็น: