วันพุธ, มิถุนายน 24, 2552

มหัศจรรย์พันธุ์ไม้ที่ชื่อโกงกาง







อันที่จริงแล้วภาพของต้นไม้ที่ชื่อ “โกงกาง” ติดอยู่ในความทรงจำว่าเป็นต้นไม้ที่แปลกและมีวิวัฒนาการในเรื่องการพัฒนารากให้กางออกเพื่อการยึดติดกับผืนดินที่เป็นดินเลนของป่าชายเลนได้ดี การมีความทรงจำอย่างนั้นเกิดจากการพบเห็นต้นโกงกางในช่วงเวลาปกติที่ไม่ใช่ฤดูขยายพันธุ์
ครั้งนี้ (เดือนมิถุนายน) ได้มีโอกาสมาศึกษาป่าชายเลนที่ “ศาลพันท้ายนรสิงห์” ณ คลองโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร พบความมหัศจรรย์ของโกงกางซึ่งถือได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการ ก้าวกระโดดให้เห็น ดังนี้
ราก กางออกจากโคนต้นเป็นกิ่งก้านจำนวนมากนับได้เป็นร้อยราก เพื่อการยึดเกาะดินเลน
ใบ ลักษณะหนาใต้ใบมีรูระบายคายเกลือออกได้ดี เพราะโกงกางอยู่ใกล้น้ำเค็ม
ดอก สีเหลืองอ่อน กลีบเล็กแข็งต้านแรงลมได้ ความมหัศจรรย์คือ ผล เล็กยาว คล้ายฝักมะรุมปลายแหลมชี้ลงดิน ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ที่สำคัญมีตุ้มสีน้ำตาล ขนาดผลมังคุดอยู่ด้านบนของผล วิวัฒนาการของโกงกางเป็นเช่นนี้ ย่อมเชื่อได้ว่าทุกครั้งที่ผลหล่นลงสู่เลนต้องปักลงไปไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรด้วยตุ้มที่หนักอยู่ด้านบนของผล
สรุปว่า โกงกางนับเป็นสุดยอดของพันธุ์ไม้ที่มีวิวัฒนาการเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น: